บทที่ 3 เริ่มต้นกับ lllustrator


ADOBE ILLUSTRATOR CS3


                Illustrator คือโปรแกรมที่ใช้ในการวาดภาพที่มีลักษณะเป็นลายเส้นหรือเวกเตอร์ และยังสามารถรวมภาพกราฟฟิกที่แตกต่างกันระหว่างเวกเตอร์และบิตแม็พ ให้เป็นงานกราฟฟิกที่มีทั้งภาพเป็นเส้นที่คมชัดและ มีเอฟเฟกต์สีสัน สวยงามหรือมีความแปลกใหม่ร่วมกันได้

Adobe Illustrator CS3
            อะโดบี อิลลัสเตรเตอร์ (Adobe Illustrator) เป็นโปรแกรมวาดภาพกราฟิกแบบเวกเตอร์ ซึ่งพัฒนาโดยบริษัทอะโดบีซิสเต็มส์ รุ่นแรก จัดทำขึ้นในปี ค.ศ. 1986 เพื่อใช้งานกับเครื่องแมคอินทอช และได้พัฒนารุ่นที่ 2 ออกมาให้ใช้งานได้กับวินโดวส์ ซึ่งได้รับความพึงพอใจ และ การตอบรับที่ดีจากผู้ใช้เป็นจำนวนมาก จนปัจจุบันได้พัฒนาออกมาจนถึงรุ่นที่ 14 และได้รวบรวมเข้าไปเป็น 1 ในโปรแกรมชุด Adobe Creative (CS4)

การนำไปใช้งานโปรแกรม Illustrator 

งานสิ่งพิมพ์

                ไม่ว่าจะเป็นงานโฆษณา โบร์ชัวร์ นามบัตร หนังสือ หรือนิตยสาร เรียกได้ว่าเกือบทุกสิ่งพิมพ์ที่ต้องการความคมชัด 



งานออกแบบทางกราฟฟิก

                การสร้างภาพสามมิติ การออกแบบปกหนังสือ การออกแบบสกรีน CD-ROM และการออกแบบการ์ด อวยพร ฯลฯ


งานทางด้านการ์ตูน

                ในการสร้างภาพการ์ตูนต่างๆนั้น โปรแกรม Illustrator ได้เข้ามามีบทบาทและช่วยในการวาดรูปได้ดี



 เข้าสู่โปรแกรม

1. Click mouse ที่ปุ่ม start ที่เมนูบาร์
2. เลื่อนเม้าส์เลือกคำสั่ง Programs> Adobe> Adobe Illustrator
3. จะปรากฎหน้าจอแรกของโปรแกรม  Illustrator  





หมวด
คำอธิบาย
file
เป็นคำสั่งการทำงานเกี่ยวกับไฟล์ เช่น การเปิดไฟล์ ปิดไฟล์ การบันทึกไฟล์และการออกจากโปรแกรม เป็นต้น
edit
เป็นคำสั่งเกี่ยวกับการปรับแต่งต่างๆ เช่น การย้อนกลับการทำงาน การตัด การทำสำเนาหรือคัดลอก การวาง หรือรูปแบบ การเลือก รวมถึงการกำหนดคุณสมบัติต่างๆที่มีผลต่อการปรับแต่งภาพด้วย เช่น การสร้างรูปแบบ หรือการกำหนดค่าสี เป็นต้น
object
เป็นคำสั่งที่เกี่ยวกับการทำงานกับออบเจ็กต์ทั้งหมด เช่น คำสั่งในการจัดกลุ่ม การจัดลำดับ หรือการปรับแต่ง เป็นต้น
type
เป็นคำสั่งที่เกี่ยวกับการทำงานกับตัวอักษร เช่น การเลือกฟอนต์ ขนาดและลักษณะตัวอักษร เป็นต้น
filter
การตกแต่งชิ้นงานด้วยเทคนิคพิเศษต่างๆ เช่น การกำหนดความขรุขระ การกำหนดรอยหยัก หรือการหมุนชิ้นงาน เป็นต้น
file
เป็นคำสั่งการทำงานเกี่ยวกับไฟล์ เช่น การเปิดไฟล์ ปิดไฟล์ การบันทึกไฟล์และการออกจากโปรแกรม เป็นต้น
effect
เป็นการกำหนดเทคนิคพิเศษในการตกแต่งชิ้นงาน จะคล้ายกับเมนู filter แต่เมนู effect สามารถที่จะแก้ไขค่าในการตกแต่งได้
view
รวบรวมคำสั่งในการกำหนดมุมมองของการทำงาน เช่น การแสดงหรือซ่อนเส้นไม้บรรทัด หรือการขยายชิ้นงาน เป็นต้น
window
เป็นเมนูทีรวบรวมคำสั่งเกี่ยวกับการจัดการหน้าต่างแต่ละหน้าต่าง ที่ปรากฎบนจอรวมถึงหน้าต่าง Palette,Toolbox ด้วย เช่น คำสั่งแสดง หรือ คำสั่งซ่อน เป็นต้น
help
รวบรวมวิธีการใช้งานและคำแนะนำอื่นๆ เกี่ยวกับโปรแกรม Illustrator 

การบันทึกไฟล์ (Save)

             เช่นเดียวกับโปรแกรมโดยทั่วไป หลังจากที่เราสร้างชิ้นงานเสร็จแล้ว จะมีการเก็บบันทึกไฟล์

นั้นไว้เพื่อเรียกใช้ในครั้งต่อไป ในโปรแกรม Illustrator ก็มีการบันทึกตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. เลือกคำสั่ง File ที่เมนูบาร์และเลือกรูปแบบการบันทึกไฟล์ดังต่อไปนี้ คือ



File>Save
เป็นการบันทึกงานในรูปแบบปกติ โดยโปรแกรมจะบันทึก
งานที่แก้ไขใหม่ในชื่อเดิม ตำแหน่งเดิมหรือบันทึกไฟล์ที่
ยังไม่เคยมีการบันทึกมาก่อน
File>Save As
เป็นการบันทึกงานเดิมเป็นชื่อใหม่ ตำแหน่งใหม่ และให้อยู่ในรูปของ Format ใหม่ได้
File>Save for Web
เป็นการบันทึกไฟล์เพื่อให้ได้ภาพที่เหมาะสำหรับการใช้งาน
บนเว็บ


2. Click mouse เพื่อกำหนดตำแหน่งของไฟล์ที่ต้องการเก็บ

3. ตั้งชื่อไฟล์

4. Click mouse เลือก Format ของไฟล์
5. Click mouse ที่ปุ่ม Save
6. ที่หน้าจอ Illustrator Native Format Options ให้กำหนดรายละเอียดดังนี้


Compatibility : เลือกเวอร์ชั่นที่ต้องการบันทึก

Option :  มีให้เลือก 2 รูปแบบคือ Embed All Fonts และ Subset  fonts when less than of characters are used
7. Click mouse ที่ปุ่ม OK

การสร้างหน้างานใหม่ เริ่มต้นการทำงานด้วยการเปิดเอกสารใหม่ขี้นมาด้วยคำสั่ง New มีขั้นตอนดังนี้
1.ไปที่เมนูหลัก (Menu Bar) จากนั้นไปที่ File > New.. จะมีหน้าต่างขึ้นมาดังรูป
เมื่อต้องการเปิดไฟล์งานใหม่ ผู้ใช้งานสามารถเปิดได้ด้วยการเลือกคำสั่ง File > New… จาก Menu Bar                            หรือกดปุ่มคีย์ลัด Ctrl + N บนคีย์บอร์ด




การสร้างหน้างานใหม่ในโปรแกรม Illustrator นั้น กำหนดแต่เพียงขนาดและรูปแบบมุมมองของหน้างานเท่านั้น เนื่องจากโปรแกรมนี้ จะสร้างภาพกราฟิกประเภท Vector ซึ้งสามารถแก้ไขโดยที่ไม่สร้างความเสียหายให้กับชิ้นงาน
รายละเอียดมีดังนี้
    1. Name สำหรับกำหนดชื่อให้กับชิ้นงานของเรา
    2. Artboard setup กำหนดค่ามาตราฐานให้กับชิ้นงานของเรา มีรายละเอียดดังนี้

        2.1 Size กำหนดขนาดของชิ้นงานตามขนาดของกระดาษ เช่น ให้มีขนาดเท่ากับ A4 , A3 หรือ 

กำหนดเป็นขนาดหน้าจอ เช่น 800 x 600Pixels 

        2.2 Unit กำหนดหน่วยที่ใช้ในชิ้นงาน เช่น Centimeters (เซนติเมตร) , Pixels 
        2.3 Width/Height กำหนดความกว้าง และความสูงของชิ้นงาน
        2.4 Orientation กำหนดชิ้นงานให้วางแนวตั้งหรือแนวนอน

3. Color Mode ใช้กำหนดโหมดสี ประกอบด้วยโหมดสี 2 ชนิดได้แก่

        3.1 CMYK Color เป็นโหมดสำหรับทำงานสิ่งพิมพ์ (จะให้สีใกล้เคียงกับภาพที่ปริ้นออกมา สีจะค่อน

ข้างทึม)
        3.2 RGB Color เป็นโหมดสำหรับทำงานที่แสดงบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ (จะให้สีสด)
การเลือกโหมดของสีนั้นสำคัญมาก ผู้ใช้งานควรเลือกโหมดสีให้ตรงกับงานที่ต้องการใช้ เช่นถ้าเป็นงานสิ่งพิมพ์ก็ควรเลือกCMYK เพื่อให้ได้สีที่แสดงบนหน้าจอทำงานตรงกับสี่ที่ปริ้นเนื้องานออกมา ถ้าเลือกเป็น RGB ภาพที่แสดงบนหน้าจอกับภาพที่ปริ้นออกมาจะแตกต่างกันมาก











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น