หน่วยที่
9 การทำงานกับสีและการระบายสีใน Illustrator
หัวข้อเรื่อง (Topics)
9.1 ความรู้เรื่องสีและการระบานสี
9.2 โมเดลการมองเห็นสีในโปรแกรม Illustrator
แนวคิดสำคัญ (Main
Idea)
การทำงานกับสีและการระบายสีในโปรแกรม Illustrator โดยมาทำความรู้จักกับระบบการเลือกสีโฟร์กราวด์
และแบ็คกราว์การเลือกสีด้วยวิธีต่าง
ๆ การระบายสีการเปลี่ยนสีภาพ
สมรรถนะย่อย (Element
of Competency)
ใช้องค์ประกอบศิลป์ในการทำงานกับสีและระบายสีใน Illustrator
จุดประสงค์การปฏิบัติ (Performance
Objectives)
1. เลือกใช้สีโฟร์กราวด์ด้วยวิธีต่าง ๆ
2. เลือกเทสีให้กับภาพตามขอบเขตพื้นที่ที่เลือกไว้
3. เลือกรูปแบบการกำหนดที่ใช้ในการไล่โทนสี
9.1 ความรู้เรื่องสีและการระบายสี
การแสดงสีของงานกราฟิกนั้นเกิดจากการผสมสีที่ลอกเลียนสีในธรรมชาติ
ซึ่งโปรแกรมIllustrator
ได้มีการนำหลักการจากโมเดลสีในแบบต่าง
ๆ มาประยุกต์เพื่อให้เกิดโหมดสีที่หลากหลาย
ความรู้เรื่องสีเป็นพื้นฐานในการสร้างงานกราฟิกในขั้นต่อ ๆ ไป
โมเดการมองเห็นสีทั่วไป
โดยทั่งไปแล้วสีต่าง
ๆ ในธรรมชาติและสีที่สร้างขึ้นจะมีรูปแบบการมองเห็นสีที่แตกต่างกัน
ซึ่งรูปแบบการมองเห็นที่เรียกว่า “โมเดล (Model)”
ดังนั้นจึงทำให้มีโมเดลหลายแบบดังที่จะได้ศึกษาต่อไปนี้ คือ
โมเดล HSB
ตามหลักการมองเห็นสีของสายตามนุษย์
โมเดล RGB ตามหลักการแสดงสีของเครื่องคอมพิวเตอร์
โมเดล CMTK ตามหลักการแสดงสีของเครื่องพิมพ์
โมเดล Lab ตามมาตรฐาน CIE
9.2 โมเดลการมองเห็นสีในโปรแกรม Illustrator
จากการมองเห็นสีโดยทั่วไป
มาสู่หลักการมองเห็นสีในโปรแกรม Illustrator
9.2.1 การเลือกสีจากกล่องเครื่องมือ
การเลือกสีจากกล่องเครื่องมือ
เป็นการกำหนดสีที่สะดวกที่สุดเพราะสามารถเลือกสีได้ทันทีจากกล่องเครื่องมือ
สีพื้น (Fill) และสีเส้น (Stroke) เป็นการกำหนดสีพื้นและสีเส้นขอบของวัตถุ
สีพื้นฐานของโปรแกรม (Default Color) เป็นการเปลี่ยนสีพื้นและสีเส้นขอบวัตถุให้กลับมาเป็นสีพื้นฐาน
คือ
สีพื้นเป็นสีขาว และสีเส้นขอบเป็นสีดำ
สลับสีพื้นและสีเส้น (Swap Fill and Stroke) คลิกเมาส์ เพื่อสลับสีพื้นกับสีเส้นขอบของวัตถุ
รูปที่ 9.1 ช่องกำหนดสี
9.2.2 กำหนดลักษณะเพิ่มเติมเป็นการกำหนดลักษณะเพิ่มเติมของสีพื้น
หรือสีเส้นขอบ
Color ระบายสีให้สีพื้นหรือเส้นขอบ
Gradient ระบายแบบไล่โทนสีให้เฉพาะสีพื้น
None ไม่ระบายสีให้สีพื้นหรือสีเส้นขอบ
|
|
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น